ปูน หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) เป็นวัสดุก่อสร้างที่สำคัญมาก เป็นอีกหนึ่งโครงสร้างหลักที่เป็นหัวใจสำหรับงานก่อสร้างไม่แพ้เหล็กเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าทุกงานก่อสร้างล้วนแล้วแต่มีคอนกรีต เสาเข็ม หรือแม้แต่งานฐานราก ที่จำต้องใช้ปูนซีเมนต์ก่อสร้างแทบทั้งสิ้น ด้วยอรรถประโยชน์ที่สามารถขึ้นรูปได้อย่างอิสระตามแบบที่ต้องการ มีความแข็งแกร่งทนทาน ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง และหาซื้อได้ทั่วไป ทำให้มักถูกหยิบมาช่วยในงานก่อสร้าง
ปูนซีเมนต์ สำหรับงานก่อสร้างเกิดจากการผสมกันของ ปูนขาว หินดินดาน ดินลูกรัง หินปูน ทราย สารบางชนิด และผ่านกรรมวิถีบางอย่างจนกลายมาเป็นปูนซีเมนต์แบบที่เราเห็นทุกวันนี้ แต่ก็ใช่ว่าเราจะสามารถนำซีเมนต์ไปผสมน้ำหินทรายและจะเอาไปใช้งานได้เลยนะ เพราะปูนซีเมนต์ไม่ได้มีเพียงชนิดเดียว ซึ่งแต่ละชนิดเหมาะกับงานที่แตกต่างกัน ไม่สามารถใช้ข้ามกันได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานตามมาก็ได้ ดังนั้น หากคุณเป็นเจ้าบ้านหรือเจ้าของงานก่อสร้าง ก็ต้องพอทราบว่าประเภทปูนซีเมนต์ที่ผู้รับเหมานำมาใช้ในงาน เหมาะสมกับบ้านหรืองานก่อสร้างของคุณหรือไม่ อย่างน้อยก็ช่วยให้มั่นใจได้ระดับหนึ่ง ไม่ใช่ตามใจผู้รับเหมาจนไม่รู้ไม่ทราบอะไรเลย เล่นโปกเกอร์ออนไลน์
ปูน มีกี่ประเภท แต่ละประเภทเหมาะกับงานลักษณะไหน ?
ซีเมนต์มีทั้งหมด 7 ประเภท แต่ละประเภทก็มีลักษณะเฉพาะตัวและเหมาะกับงานบางประเภทเท่านั้น ประเภทไหน เหมาะกับงานลักษณะไหนบ้างมาดูกันเลย
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland Cement) ใช้ในงานช่างทั่วไป คอนกรีตเสริมเหล็ก เสา สะพาน ถนน งานบ้าน งานโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 2 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง (Modified Portland Cement) เหมาะกับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สะพาน ตอม่อ ตึก ฯลฯ คงทนต่อด่างมากกว่าประเภทที่ 1
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทให้กำลังอัดสูงเร็ว ( High Early Strength Portland Cement) เนื้อมีความละเอียดที่มาก แข็งตัวได้เร็ว เหมาะกับงานก่อสร้างเร่งด่วน ที่จำกัดเวลา
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 4 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ (Low Heat Portland Cement) เกิดความร้อนในการแข็งตัวน้อย ทำให้เกิดรอยแตกรอยร้าวได้ยาก เหมาะกับการใช้งานเขื่อนกั้นน้ำ
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 5 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภททนซัลเฟตสูง (Sulfate Resistance Portland Cement) เหมาะใช้งานบริเวณที่มีด่างสูง เช่น พื้นที่ใกล้ทะเล บริเวณที่มีดินเค็ม
- ปูนซีเมนต์ผสม เหมาะกับงาน ปูนก่อ ปูนฉาบ ปูนตกแต่ง งานโครงสร้างขนาดเล็ก
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดสีขาว เนื้อปูนสีขาว สามารถผสมสีได้ ใช้กับงานตกแต่ง
Mc’s cement มีอะไร ให้เลือกใช้ได้บ้าง ?
ในส่วนของสินค้าปูนซีเมนต์ในงานก่อสร้างที่เราขายนั้น จะเป็นส่วนปูนซีเมนต์ที่ช่วยเสริมสร้าง เช่น ซีเมนต์ปรับระดับด้วยตัวเอง ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียนเสมอกัน น้ำยารองพื้น หรือน้ำยาประสานชนิดเข้มข้นที่จะช่วยยึดเกาะสำหรับพื้นปูน หรือคอนกรีตก่อนการเทปูนปรับระดับ ปูนลอฟท์ สำหรับงานผนัง และมอร์ตาร์ฉาบซ่อมผิวถนน
4 ขั้นตอนการเท ปูน แบบง่าย ๆ ที่คุณไม่ควรละเลย ?
- ขั้นตอนแรก ปรับระดับหน้าดินให้เรียบเนียนเสมอกัน เนื้อดินต้องแน่นไม่ยวบเป็นจุด ๆ ควรกำจัดหญ้า วัชพืชและเศษขยะออกให้เกลี้ยง เพื่อเลี่ยงไม่ให้เกิดฟองอากาศหลังเทคอนกรีตเสร็จ อย่าลืมลดระดับหน้าดินเผื่อความหนาของหินและทราย จากนั้นเททรายรองพื้นให้ได้ความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร
- ขั้นตอนที่สอง เตรียมแบบหล่อคอนกรีตที่แข็งแรง สามารถใช้ได้ทั้งไม้และเหล็ก โดยตั้งค้ำยันไว้ให้มั่นคงแข็งแรง
- ขั้นตอนที่สาม ใช้เหล็กเสริมคอนกรีตเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานและเป็นตัวยึดเกาะคอนกรีตไว้ด้วยกัน ป้องกันไม่ให้คอนกรีตยืดหด จากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลดโอกาสคอนกรีตแตกหรือร้าว
- ขั้นตอนที่สี่ คือการเลือกใช้ปูนซีเมนต์ที่ต้องเหมาะสมกับงานนั้น ๆ ข้อนี้สำคัญมากเพราะปูนซีเมนต์แต่ละชนิดเหมาะกับงานที่แตกต่าง หากเลือกผิดอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ อัตราส่วนการผสมซีเมนต์ที่เหมาะกับพื้นคือ ปูนซีเมนต์ 1 : ทราย 2 : หิน 4
แม้เป็น 4 ขั้นตอนง่าย ๆ แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ไม่ควรปล่อยปะละเลย มิเช่นนั้นงานก่อสร้างอาจจะไม่เสร็จสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ และอาจะเกิดปัญหาตามมาทีหลังจนต้องรื้อโครงสร้างมาทำใหม่เลยก็ได้